25.8.58

ฟืมซาวห้า (๒๕) ที่ว่ากันนะ อย่างไรจึงเป็นฟืมซาวห้า



น้องหล่าเอ้ย...

เจ้าผู้ฟืมซาวห้า ขันดีเนื้อถี่ถี่..
อ้ายอยากมีเส้นด้าย ให้นางน้องตั่มทอ..
เจ้าสิพอใจอ้าย ตนชายแสวงใส่..แน่บ้อ
หรือตี๋หว่าด้ายบ่ใส หือหว่าไหมบ่ย้อมบ่ยอมให้ใส่ฟืม ซั่นบ้อน้องหล่า  
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                 จากคำผญาเกี้ยวสาว ที่ปรากฏด้านบน ชายหนุ่มได้เอื้อนเอ่ย ชมหญิงสาวที่เขาชอบพอว่า ค่องงาม เสมือนหนึ่งว่าเป็นฟืมซาวห้า และจินตนาการว่าตัวเองเป็นเส้นด้ายอยากสอดทอเข้าไปในฟืม นั้น..
               ในสมัยก่อน เสื้อผ้าที่ใช้สวมใส่ส่วนมากจะมาจากการทอด้วยมือ ก่อนจะได้ผืนผ้ามาต้องผ่านกรรมวิธีและเครื่องมือหลายชนิด และจะแตกต่างกันพอสมควรระหว่างเน้ือผ้าที่เป็นผ้าที่ทอจากใยฝ้ายหรือผ้าฝ้าย และผ้าที่ทอจากใยไหมหรือผ้าไหม เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ในการทอผ้าก็คือ "ฟืม" ซึ่งทำจากไม้เน้ือดีและด้ายที่คงทน
              ฟืมชนิดหนึ่งที่ทอผ้าได้เหมาะเจาะสวยงามกระทัดรัด จนนำมาเปรียบกับหญิงสาวงามในวัยรุ่น ก็คือ ชนดขนาดของฟืมที่เรียกว่า "ฟืมซาวห้า"
              การผลิตและกำหนดขนาดของฟืมเป็นกรรมวิธีที่อธิบายได้ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาอันน่าทึ่งของคนสมัยก่อน และคนลาวและคนอีสานก็คือผลผลิตของการสืบทอดภูมิปัญญานั้นต่อกันมาเรื่อย ๆ
            "ฟืมซาวห้า" มีที่มาอย่างไร ... ผมได้อ่านหนังสือเก่า ๆเล่มหนึ่งชื่อ "กาละนับม้ือส่วย" ของท่านมหา สวิง บุญเจิม ปธ.๙ MA ในในหนังสือเล่มนั้น ได้กล่าวถึงฟืม ท่านผู้เขียนได้ทำ อรรถอธิบายที่มาของฟืมซาวห้าเอาไว้ ดังนี้
            "ฟืมซาวห้า" คือฟืมที่มีขนาดทอผ้าได้ ๒๕ "ควม" หลักการนับมีว่า ๒ เส้นฝ้าย เป็น ๑ "เขา"  ๒ เขา (คือ ๔ เส้นฝ้าย เครือหูก) เป็น ๑ ควม ที่ว่าฟืมเก้า ฟืมสิบ ฟืมซาวห้า ฟืม ๓๐ นับควมนี้เป็นหลัก คือ ๙ ควม เรียกว่า ฟืม ๙    ๑๐ ควม เรียกว่าฟืม ๑๐   ๒๕ ควม เรียกว่า ฟืม ๒๕ หรือ ซาวห้า  ๓๐ ควม  เรียกว่า ฟืม ๓๐
             "เขา" คือ อะไร ผู้เขียนได้อธิบายคำว่า "เขา" ที่เป็นองค์ประกอบของควม ว่า  "เขา" คือฝ้ายที่เกาะเส้นด้ายกับไม้เหยียบหูกสำหรับเหยียบประสานให้เส้นด้ายขัดกันไม่อยู่ในร่องเดียวกัน ผ้าที่ทอจึงเน้ือแน่นด้ายไม่หลุดออกจากกัน
              สรุปว่า ที่กล่าวมานั้น เราได้รู้ที่มาของ ขนาดชนิดของฟืม และรู้ที่มาของฟืมซาวห้า (๒๕) รู้จักคำว่า "เขา" หรือ "ขาหูก" ซึ่งเป็นองค์ประกอบของฟืม

14.8.58

กระท่อมแสงดาวยามเย็น...วันที่ฟ้าใส

       วันนี้เป็นวันศุกร์ ปกติแล้วจะไปที่กระท่อม ตอนเช้าและเที่ยง วันนี้พบว่าน้ำกำลังเพิ่มระดับ ปลาก็ดูเหมือนร่าเริงผิดปกติ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นแรงจูงใจให้อยากไปที่กระท่อมในยามเย็น คือความสดใสของแสงแดดยามเย็น ... เย็นนี้ก็เลยเก็บภาพกระท่อมมาฝาก ครับ
ถ่ายจากมุมมองด้านตรงข้ามกระท่อม


นี้ก็อีกภาพที่ถ่ายจากจุดเดียวกัน

ถ่ายจากด้านบนลงไป

ถ่ายเฉียงขึ้นมานิดหนึ่ง

ค่าของเงินและหน่วยนับเงิน ที่ใช้ซื้อขาย และมาตราการวัดชนิดต่างๆ ในแขวงคำม่วน สปป.ลาว ในปี 1890 (ปริวรรตและถอดความจากหนังสือภาษาลาว ชื่อ "ปะหวัดสาดลาว โดย หยัอ"

            ผม ได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง เขียนเป็นภาษาลาว  ชื่อ "ปะหวัดสาดลาว โดยหย้อ"ที่เขียนโดย" ท่านคำเพา พอนแก้ว" จากเพื่อนเฟสท่านหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยมิตรภาพ เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ที่แล้ว แม้จะเขียนเป็นภาษาลาวและใช้อักษรลาว ผมใช้ความพยายามในการอ่านก็พอจะเข้าใจและเดาความได้พอประมาณ  หนังสือเล่มนั้น ทำให้ผมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของ ชนชาติลาว ตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และได้เข้าใจในทัศนะความคิดความเห็นของผู้เขียนซึ่งอาจเหมือนกับคนลาวเป็นส่วนใหญ่
            เน้ือหาหนึ่งในหนังสือเล่มนั้น ที่ผมอยากนำเสนอก็คือเรื่อง "ค่าของเงินและหน่วยนับเงิน ที่ใช้ซื้อขาย และมาตราการวัดชนิดต่างๆ ในแขวงคำม่วน สปป.ลาว ในปี 1890" ซึ่งท่านผู้เขียนบอกว่า ได้แปลมาจากบทความที่ฝรั่งเศส เขียนได้ ผมเห็นว่าเป็นสาระและมีประโยชน์และคุณค่าการรับรู้และศึกษาเรียนรู้ จึงขอนำเสนอไว้เป็นบทความหนึ่งใน AEC : บ้านใกล้เรือนเคียง โดยการปริวรรตอักษรลาวให้เป็นอักษรไทยเท่าที่สองระบบจะเอื้ออำนวยต่อกัน และจะเก็บความสำคัญเป็นภาษาไทย เพื่อจะได้เรียนรู้เทียบเคียงกัน
           ๑. การถอดความ
ค่าเงินที่ใช้ซื้อขายและมาตราการวัดแบบต่าง ๆ
ในแขวงคำม่วน ปี 1890
(แปลจากบทความที่ฝรั่งเศส ได้เขียนไว้) 

 เงินที่ใช้ : ก่อนที่ฝรั่งเศสจะมาถึงประเทศลาว เงินที่นำมาใช้ มีดังนี้
                 - เงินที่มีเนื้อธาตุเป็นเงินแท้ คือ เงิน "ฝัก" หรือ เงิน "ฮาง"มีลักษณะเป็นท่อน ๆ ที่ชาวเวียตนาม(อานาม)และชาวจีนเป็นผู้นำในการใช้ ที่เรียกว่า "ฝัก" อาจมีรูปเหมือนฝักมะขาม ที่เรียกว่า "ฮาง" อาจเป็นรูปเป็นร่องเหมือน"ฮางหมู"(ทีสำหรับวางอาหารให้หมู ทำจากไม้ที่นำมาขุดเป็นร่องลึกยาวกว้างพอที่หมูจะหย่อนปากลงไปกินอาหารได้)
อ้างอิงจาก : http://www.baanmaha.com/community/threads/43816-เงินรางสมัยก่อน
น้ำหนักของเงิน ฝักหนึ่งประมาณ ๓๗๕ กรัม ราคาแลกเปลี่ยนกับเงินตราอินโดจีน เป็น ๑๖ เหรียญ หรือ (16 plastres) มีมูลค่าเท่ากับราคากระบือตัวผู้หนุ่ม ๑ ตัว ต่อ ๔ เหรียญ แต่ก็ปรากฏว่ามีเงินปลอม(มีเน้ือธาตุเงินแท้ผสมอยู่ไม่ถึง ร้อยละ ๑๐๐)ระบาดอยู่ในตลาดเช่นกัน
                - เงินบาท(มีลักษณะกลม) คือเป็นเหรียญกลม ๆ ชาวลาวเรียกว่าเงินบาท เงิน "หมากค้อ"เพราะมีรูปเหมือนเม็ดของลูกตะค้อ
อ้างอิงจาก  http://pantip.com/topic/30169819
ซึ่งเป็นเงินของประเทศสยาม มีน้ำหนักประมาณ ๑๕ กรัม เทียบกับค่าเงินกเงินอินโดจีน ประมาณ ๖๐ ถึง ๖๒ อัฐ (๑ อัฐ เท่ากับ ๑/๑๐๐ ของ ๑ เหรียญ) ซึ่งเป็นเงิน"หัวหนาม"ของฝรั่งเศส มีรูปคนสวมมงกุฏเป็นแฉก ๆไว้บนศีรษะ  เงินบาทนั้นมีการปลอมขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังนิยมใช้กันกันอยู่
              - เงินบาทแบนๆ(ธรรมดา)(tical plate) มีพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ซึ่งมีค่า ๖๐ เซนต์ (Cents) เป็นเงินที่ผู้ใช้ให้ความเชื่อถือ เพราะใช้เน้ือธาตุเงินบริสุทธิ์มาหล่อเป็นเหรียญ
              - เงินที่มีเน้ือธาตุทองแดงผสม มีอยู่ ๒ ชนิด  มีชนิดเหรียญละ ๑ อัฐ และ ๒ อัฐ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"เงินลาด"มีพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดินสยาม มูลค่า ๑ หรือ 2 เซนต์ (Cents) แพร่มาจากแขวงทางเหนือของประเทศลาว
             - ในปัจจุบัน (1890) ซึ่งระบบเงินตราต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังนำมาใช้คู่กันเงินเหรียญเม็กซิกัน(Piastre Mexicaine) (ด้วยว่าใช้ตามโปรตุเกส ) และเงินเหรียญของอินโดจีน รวมทั้งหน่วยของเงินต่าง ๆดังกล่าวมาแล้ว
               อยู่บางพื้นที่ของเมืองคำเกิด เมืองคำม่วน มหาไซ ใกล้กับชายแดนเวียตนามกลาง(อานาม) ก็ยังใช้หน่วยเงินอัฐ "หมากอิแป๊ก"ซึ่งผลิตจากเวียตนามกลาง(อานาม) และเป็นเงินที่ไม่มีค่าสูงนัก
              - วิธีนับเงิน : ชาวลาวอ้างอิงกับหน่วยเงินบาทของสยามเป็นหลัก  ๑ บาท (Un tical) หลายบาท(Ticaux) ถ้ามีจำนวนมากก็นับเป็นตำลึง ( ๔ บาท ต่อ  ๑ ตำลึง) ดังคำกล่าวที่ว่า "๑๐ ตำลึงอยู่ฟากน้ำอย่าได้อ่าวคะนิงหา ๒ สลึงแล่นมามือให้ฟ้าวกำเอาไว้" เป็นคำสุภาษิตของลาวที่ใช้พูดกันอยู่ เพื่อให้เกิดการประหยัด ไม่ทะเยอทะยาน
              ๒๐ ตำลึง เท่ากับ ๑ ชั่ง(1 Cattie) หรือเท่ากับ ๘๐ บาท หรือ ๘๐ ticaux ๑๐ ชั่งเป็น ๑ หมื่น ๑๐ หมื่น เท่ากับ ๑ หาบ ๑๐ หาบ เท่ากับ ๑ แสน ๑๐ แสน เท่ากับ ๑ ล้าน ๑๐ ล้าน เท่ากับ ๑ โกฏิ
              หน่วยนับเงิน ที่ต่ำกว่า ๑ บาท ที่นำมาใช้ ได้แก่  ๑ สลึง เท่ากับ ๑/๔ ของบาท  ๑ เฟื้อง เท่ากับ ๑/๒ ของสลึง หรือ ๑/๘ ของบาท อัฐ หรือ ลาด เท่ากับ ๑/๘ ของเฟื้อง หรือ ๑/๖๔ ของบาท(tical)
             มาตราการชั่งน้ำหนัก : หรือหน่วยนับน้ำหนัก ที่นำมาใช้ในแขวงคำม่วน คือ ๑ ชั่ง(Le xang ou cattie) เท่ากับ ๑๒๐ กรัม(๑ กิโลกรัม ๒ ขีด)  หรือ ๑ ทะนาน   ๑ หมื่น (Le mun ou 10 xang) เท่ากับ ๑๒ กิโลกรัม  ๑ หาบ(Le hap ou  10 muns) เท่ากับ ๑๒๐ กิโลกรัม
(เครื่องมือตวงวัดเหล่านี้ นำมาใช้เพื่อซ้ือขาย ยาฝิ่น ให้พวกยุโรป แต่ประชาชน ไม่ค่อยรับรู้เพราะไม่เคยชิน ส่วนใหญ่จึงแลกเปลี่ยนกันเป็นสิ่งของ)
สำเนาหน้าหนังสือ(บางส่วน) ที่นำมาแปล
ขออภัยเจ้าของหนังสือที่ข้าพเจ้าได้แปลโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต และจะรับผืดชอบทั้งหมดหากเกิดความเสียหายใด ๆ


         ๒. การปริวรรต อักษรลาวมาเป็นอักษรไทย
คุนค่าเงินใซ้ซื้อขาย และ มาดกานวัดแทกต่างๆ 
ในแขวงคำม่วน ปี 1890
(แปจากบดของฝรั่งเขียนไว้) 

เงินใซ้ : ก่อนพวกเฮา(ฝรั่งเสด) จะมาเถิงปะเทดนี้ เงินที่นำมาใซ้ มี ดั่งนี้ :
              - เงินที่มีทาดเงินแท้ : เงิน "ฝัก" หลือ เงิน "ฮาง" เป็นท่อนๆของชาวอานามและซาวจีนพาใซ้ (คำว่า "ฝัก" อาดเป็นฮูบคือ หมากขามฝักหนึ่ง "ฮาง" ก็อาดเป็นฮูบคือฮางหมู) น้ำหนักฝักหนึ่ง 375 gr ลาคาเปี่ยนใส่เงินอินดูจีน ต่อมาแม่น 16 เหลียน หลือ (16 plastres) เปี่ยนใส่ลาคาควายเถิก ๑ ตัว ต่อ ๔ เหลียน แต่ก็มีเงินที่บ่ แม่นทาดเงินบํลิสุด 100 % ปอมแปงหลายใซ้กันอยู่
            - เงินบาด(กม)(tical) เป็นหน่วยมนๆ ซาวลาวเอิ้นว่าเงินบาด "หมากค้อ" (ย้อนเบิ่งฮูบคือหมากค้อ) เป็นเงินของซาวสะหยาม มีน้ำหนัก 15 gr และมีลาคาเป็นเงินอินดูจีนปะมาน 60 หา 62 อัด ( 1 อัด เท่ากับ 1/100 ของ 1 เหลียน ซึ่งแม่นเงินเหลียน "หัวหนาม"ของฝรั่งมีฮูบคนใส่ "ปอกหนาม" อยู่หัว มีเงินบาดเหล่านี้ถืกปอมแปงหลาย แต่ก็ยังใซ้กันอยู่
           - เงินบาดแป(ทำมะดา) (tical plate) มีฮูบเจ้าซีวิตสะหยาม ซึ่งมีคุนค่า 60 เซน (Cents) เป็นเงินที่เซื่อถือได้ เว้าในนามทาดเงินสดปะกอบ(หลอมปน)
          - เงินที่มีทาดทองแดง ; มี สองปะเพด มีหมาก 1 อัด (หลุย) และ หมาก 2 อัด หลือมีอีกซื่อหนึ่งว่าเงินลาด(Lats)มีฮูบเจ้าซีวิตสะหยาม ลาคา 1 หลือ 2 เซน (Cents)มาจากแขวงพากเหนือของลาว
          ในปัดจุบัน (1890) ซึ่งเงินต่างๆที่ก่าวข้างเทิงนี้ ยังนำมาใซ้ได้พ้อมๆกันกับเงินเหลียน เม็กซิก (Piastre Mexicaine) (ย้อนปอตุเกด พาใซ้) เงินเหลียนอินดูจีน ทั้งหัวหน่วยของเงินต่างๆดังก่าว
           อยู่บางพื้นที่ของเมืองคำเกิด เมืองคำม่วน มหาไซ ใก้กับซายแดนอานาม เพิ่นก็ยังใซ้หัวหน่วยเงินอัด (Sapeque) "หมากอิแป๊ก"เฮ้ดมาจากอานาม เป็นเงินทีบ่มีคุณค่าสูง
          - วิทีนับเงิน : ซาวลาวอิงใส่หัวหน่วยเงินบาดสะหยามเป็นหลัก 1 บาด (Un tical) หลายบาด (Ticaux) ถ้าแม่นจำนวนหลายก็เป็นตำลึง (หมายความว่า 4 บาท ต่อ 1 ตำลึง) "10 ตำลึง อยู่ฟากน้ำอย่าได้อ่าวคะนิงหา 2 สลึงแล่นมามือให้ฮีบกำเอาไว้" คำสุพาสิดลาวเคยเว้ากัน เพื่อให้ปะหยัด บ่ทะเยอทะยาน)
          20 ตำลึง เท่ากับ 1 ซั่ง หลือ(1 Cattie) เท่ากับ 80 บาด หลือ 80 ticaux 10 ซั่ง เป็น 1 หมื่น 10 หมื่น = 1 หาบ  ,10 หาบ = 1  แสน,  10 แสน = 1 ล้าน , 10 ล้าน =  1 โกด
           หัวหน่วยต่ำกว่า 1 บาด ที่นำมาใซ้ มี :
           1 สะลึง = 1/4 ของบาด (1 สะหลึงเท่ากับ 1/4 ของบาด) 1 เฟื้อง = 1/2 สะหลึง หลือ 1/8 ของบาด อัด หรือ ลาด ที่เท่ากับ 1/8 ของเฟื้อง หลือ 1/64 ของ บาด (tical)
           มาดตาน้ำหนัก(กานซั่งน้ำหนัก) หัวหน่วยน้ำหนักที่นำมาใซ้ในแขวงคำม่วน มี :
           1 ซั่ง (Le xang ou cattie) เท่ากับ 1 kg 200 (หลือ 1 นาน)
           1 หมื่น (Le mun ou 10 xang) เท่ากับ 12 kg
           1 หาบ (Le hap ou  10 muns) เท่ากับ 120 kg
(เคื่องวัดแทกนี้นำมาใซ้เลานั้นเพื่อ ซื้อ ขาย ยาฝิ่น ให้พวกตาเว็นตก ส่วนปะซาซนแม่นบ่หยากฮับฮู้ เพาะบ่ทันลึ้ง ส่วนใหย่แม่นแลกเป็นวัตถุ)



        

           


ประวัติ "​พระบาง" : พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประจำอาณาจักรล้านช้าง ที่มีอายุยาวนาน

            ปัจจุบัน หลายคนที่ไผเยี่ยมชม "นะคอนหลวงพะบาง" เมืองมรดกโลก แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว สถานที่แห่งหนึ่งที่ต้องไปชมและถ่ายภาพให้ได้ก็คือ "หอพระบาง" หน้าพิพิธภัณฑ์หรือพระราชวังเดิม
ภาพจาก http://daejeonastronomy.exteen.com/20100706/entry
ซึ่งสร้างขึ้นอย่างสวยงามวิจิตรตระการตา ด้วยศิลปะแบบล้านช้างโบราณซึ่งเป็นต้นแบบของศิลป์แบบต่างๆในระยะต่อมา
            ที่หอพระบางแห่งนั้น เป็นที่ประดิษฐาน องค์พระบาง
           ประวัติพระบาง
           พระบางมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ตำนานเกี่ยวกับพระบางว่าอย่างไร และความเคารพ ความเชื่อของชนชาติลาวสองฝั่งแม่น้ำของ(โขง)ที่มีต่อพระบางเป็นอย่างไร ผมได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้สองสามแหล่ง คือ หนังสือ"ปะหวัดสาดลาว โดยหย้อ (ฉบับภาษาลาว)" ที่อ้างอิงมาจากเอการบันทึกการศึกษาค้นคว้าของ "จันทะพอน วันนะจิด และ มหาสีลา วีระวงศ์ และข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์ วิกิพีเดีย และโฟโตออนทัวร์  จึงขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้
           ประวัติโดยย่อของพระบาง
           เอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่า พระบาง นั้มีชื่อจริง ๆคือ พระปางห้มญาติ ต่อมาเรียกชื่อย่อ ว่าพระปาง และกลายมาเป็น "พระบาง" ในที่สุด          
          พระบาง เป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัย สูงสองศอกเจ็ดนิ้ว (ประมาณ ๑.๑๔  เมตร) หล่อด้วยสำริด (ทองคำผสม ๙๐ เปอร์เซ็นต์) มีอายุอยู่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘  ถึงตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ ๑๙  ตามศิลปะเขมรแบบบายนตอนปลาย โดยมีพุทธลักษณะคือ
ภาพจากหนังสือ ปะหวัดลาว โดยหย้อ
ประทับยืนยกพระหัตถ์ขึ้น นิ้วพระหัตถ์เรียบเสมอกัน พระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง พระขนงเป็นรูปปีกกา พระเนตรเรียว พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์บาง พระเศียร และพระเกตุมาลาเกลี้ยงสำหรับสวมเครื่องทรง ปั้นพระองค์เล็ก พระโสภีใหญ่ ครองจีวรห่มคลุม แลเห็นแถบสบง และหน้านาง(วิกิพีเดีย) 
พระบางเป็นพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง (จาก เว็บไซต์ วิกีพีเดีย)
เว็บไซต์ วิกิพีเดีย ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ว่า พระบางเดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่นครหลวงของอาณาจักรขอม จนเมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๐  พระเจ้าฟ้างุ้มกษัตริย์แห่งล้านช้างซึ่งมีความเกี่ยวพันทางเครือญาติกับพระเจ้ากรุงเขมร มีพระราชประสงค์ที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ประดิษฐานมั่นคงในพระราชอาณาจักร จึงได้ทูลขอพระบางเพื่อมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวงของอาณาจักรล้านช้างในขณะนั้น แต่เมื่ออัญเชิญพระบางมาได้ถึงเมืองเวียงคำ (บริเวณแถบเมืองเวียงจันทน์ในปัจจุบัน) ก็มีเหตุอัศจรรย์ขึ้นจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ พระบางจึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองนี้จนถึง พ.ศ. ๒๐๕๕ อันเป็นสมัยของพระเจ้าวิชุณราช ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าเมืองเวียงคำมาก่อน จึงสามารถนำเอาพระบางขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดวิชุนราชในนครเชียงทอง ทำให้เมืองเชียงทองเรียกว่า หลวงพระบาง นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ตำนานพระบาง
เอกสารฝ่ายลาว กล่าวถึงพระบางในเชิงตำนาน และช่วงเวลาการก่อกำเนิดและการเคลื่อนย้ายพระบางไว้ ดังนี้
เมื่อ พ.ศ. ๔๓๖ พระจูลนาถเถระ ได้หล่อพระบางที่ประเทศศรีลังกา ได้มีพิธีอารธนาพระบรมสารีริกธาตุ ๕ พระองค์มาบรรจุไว้ในองค์พระบาง และพระบางประดิษฐานอยู่ที่ลังกา นานถึง ๙๖๓ ปี
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๑๔๐๐ พระเจ้าสุบินราช ได้มอบพระบางให้แก่กษัตริย์เขมรให้นำมาประดิษฐานไว้ที่นครอินทปัทม์ และประดิษฐานอยู่ที่นครอินทปัทม์ นานถึง ๕๐๒ ปี
ภาพจากเว็บไซต์ http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000124781
พ.ศ. ๑๙๒๐ พระเจ้าชัยวรมันปรเมศวร ที่ชาวลาวเรียกพระนามว่า พระยาสิริจุนทราช ได้มอบพระบางเป็นของกำนัลให้แก่ "พระเจ้าฟ้างุ้ม" ซึ่งเป็นราชบุตรเขย เพื่อนำมาเป็นเครื่องนำทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านช้าง และได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำ ๑๔๓ ปี
ต่อมาเมื่อถึง พ.ศ. ๒๐๔๕ ได้มีการอัฐเชิญพระบาง ไปประดิษฐาน อยู่วัดมโนรมย์ ๒ ปี แล้วย้ายมาประดิษฐานที่วัดวิชุน มหาวิหาร เมืองเชียงทอง นานถึง ๒๐๒ ปี (และมีผลให้เมืองเชียงทองเปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองหลวงพระบาง") จึงได้ย้ายมาประดิษฐานไว้ที่นครหลวงเวียงจันทน์
ใน พ.ศ. ๒๒๔๘ พระบาง ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินแปง ชื่อเดิม คือ"วัดป่าสักหลวง" ภายใต้พระมาหากรุณาของพระเจ้าโพธิสราช ซึ่งเป็นพระบิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช และประดิษฐษนอยู่ที่เวียงจันทน์นานถึง ๗๔ ปี จึงถูกเคลื่อนย้ายลงไปที่กรุงเทพฯด้วยภาวะสงครามที่รุนแรง
เอกสารฝ่ายลาว กล่าวเพิ่มเติมว่า
พ.ศ.๒๓๒๒  ศักดินาสยาม ได้ยกทัพาตีนครเวียงจันทน์ แล้วนำเอาพระบาง และพระแก้วมรกต และพระแทรกคำไปไว้ที่ กรุงเทพฯ
พ.ศ.๒๓๒๖  ได้ส่งพระบางคืนให้ลาว และประดิษฐานอยู่ที่นครเวียงจันทร์ ๔๕ ปี จึงถูกเคลื่อนย้ายไปกรุงเทพฯอีกครั้ง เมื่อสยามกลับมาตีเวียงจันทน์อีกครั้ง
พ.ศ. ๒๓๗๑ ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า ใน พ.ศ. นี้ ศักดินาสยาม ได้เข้ามาทำลายและเผานครเวียงจันทน์อีก แล้วนำเอาพระบาง  และพระพุทธรูปสำคัญ ได้แก่ พระแทรกคำ พระเสา พระเสิม พระใส ฯลฯ เป็นเวลานานถึง ๖๕ ปี ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าอนุวงศ์ถูกสยามจับตัวไป ถึง ปีที่ ฝรั่งเศส เข้ามายึดลาวเป็นอาณานิคม
พ.ศ. ๒๔๐๙ สยามได้ส่งพระบาง คืนให้แก่ลาวเป็นครั้งที่สอง และลาวได้อัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ที่วัดวิชุน มหาวิหาร เมืองหลวงพระบางเป็นเวลา ๒๐ ปี แล้วย้ายไปวัดใหม่สุวรรณภูมิ และ หอคำ ราชวังหลวงในระยะต่อมา
พระบางเป็นพระพุทธรูป ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นของค้ำคูนบ้านคูณเมือง ลาวถือว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าสิ่งหนึ่งของประเทศ มานาน จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๗) พระบางมีอายุได้ ๒๑๑๖ ปี













13.8.58

พะอาจานเนือง หรือ อาจาน อะลิยะ โซติทอน : พระนักปราชญ์แห่งเวียงจันทน์

             ในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ปลายเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๘ นี้ ผมพ้อมด้วยคุณนุชน้อย และน้องสาวคือคุณคะนึงนิตย์ ได้มีโอกาสไปทำบุญพระ ๙ วัด ที่ "นะคอนเวียงจัน" ประเทศลาว วัดหนึ่งซึ่งผมคิดไว้ในใจว่าต้องไปให้ได้ คือวัด "เวียงเจริญ" บ้านเวียงเจริญ นครหลวงเวียงจันทน์  นั่นเอง หลายท่านอาจไม่รู้จักวัดนี้ แต่ผมรู้ และรู้ถึงยาคูที่เป็นหัวหน้าสงฆ์ ในวัด ที่ชื่อ พะอาจานเนือง หรือ อาจาน อะละยะ โซติทอน : พระนักปราชญ์แห่งเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นแม่เหล็กแท่งใหญ่ ดึงเอาผมให้อยากไปกราบนมัสการท่าน
              หลายท่าน อาจตั้งคำถามว่า ผมไปรู้จักท่านได้อย่างไร  ปฐมเหตุก็คือว่า ผมเป็นเพื่อนเฟสกับนักเขียน แนวหน้าของ สปป.ลาวท่าน หนึ่ง  นาม "Chanthapone Vannachith" และมี "Ariya Luxoadone" ซึ่งเป็นนามเฟสของพระอาจารย์ร่วมเป็นเพื่อนด้วย พอเราได้เข้าไปในไทม์ไลน์ของท่าน ได้สัมผัสเน้ือหาในนั้น จึงประทับใจในความคิด มุมมอง ความเป็นปราชญ์ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ภาษาและวรรณคดี จึงได้นมัสการร้องขอเป็นเพื่อนเฟสกับพระอาจารย์ และอาราธนาพระอาจารย์เป็นที่ปรึกษาด้านภาษา ประวัติศาสตร์ลาว ไทย ตั้งแต่นั้น
             การเดินทางไปนมัสการพระอาจารย์ จะไม่ประสบความสำเร็จเลย หากไม่ได้เพื่อนเฟส ที่แสนดีอีกท่านหนึ่งคือ ท่าน "ดร.สมพะวัน เสียงแคนลาวลูกข้าวเหนียว" ที่นำรถประจำตัวประจำบ้านมาบริการเข้าไปทำบุญถึง ๙ วัด รวมทั้งวัดเวียงเจริญด้วย ดร.สมพะวัน มีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะนำพาพวกเราไปสัมผัสกับวัดเก่าแก่และร่องรอยประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างลาวกับสยาม ทราบว่าท่านรีบรุดจากภารกิจที่แขวงคำม่วน ฝ่าสายฝนมาบริการพวกเรา (กะว่าจะเลี้ยงเที่ยงด้วยอาหารที่อร่อย ๆ เป็นการขอบคุณก็พลาดไป) จึงขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้
            บทความนี้  ได้เกิดขึ้นเพราะต้องการแสดงความชื่นชม พระอาจารย์ เนืองพิลัก หรือ อะลิยะ โซติทอน ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
           ในโอกาสข้างหน้า ก็จะขออนุญาตพระอาจารย์นำเน้ือสาระทั้งภาษา ประวัติศาสตร์และวรรณคดี ที่อาจารย์นำเสนอ มาลงตรงนี้ด้วย


                                 "ครูคำมี"