Zoo isn't Zoo.ภาพที่นี่เมื่อวันวาน ชื่อบทความนี้มีความหมายและมีความสำคัญกับแนวคิดการจัดสร้างสวนสัตว์แห่งนี้ เป็นอย่างมาก อยากอธิบายให้ฟัง แต่ขอย้อนอดีต ไปเล่าเรื่องเก่าๆ ก่อน...
ก่อนตกลงเลือกพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของสวนสัตว์แห่งใหม่ ที่มีชื่อในปัจจุบัน คือ "อุท ยานสัตว์ป่าอีสานตอนบน ขอนแก่น-อุดรธานี" ซึ่งชื่อที่ไม่เป็นทางการก็คือ"สวนสัตว์เขาสวนกวาง"นั่นเอง พื้นที่เดิมเป็นอย่างไร มีการเดินสำรวจกันอย่างไร ปัจจุบันมีการสร้างอะไรไปบ้างแล้ว และอนาคต จะมีอะไรอีก วิสัยทัศน์ของสวนสัตว์เป็นอย่างไร หลากหลายคำถาม ที่ต้องการคำตอบ ผู้เขียนจึงอยากตอบคำถาม โดยนำเสนอข้อมูลพัฒนาการของสวนสัตว์แห่งนี้ ตั้งแต้เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ต่อผู้สนใจที่เข้าเรียนรู้ผ่านช่องทางของโลก Cyber ด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจที่ต้องการให้สวนสัตว์แห่งนี้เติบโตไปในทางที่สร้างสรรค์ พร้อมกับการฟื้นฟู้ให้ภูเขาสวนกวางกลับสู่ภูมินิเวสเดิมที่เคยมีมาในอดีต ต้องกราบขออภัยและพร้อมที่จะแก้ไข หากข้อมูลที่นำเสนอมีความคลาดเคลื่อนหรือกระทบต่อระบบของภาคส่วนใดกลุ่ม รสทป.ขึ้นไปถ่ายรูปบนผาใจสั่น ซึ่งปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของ พื้นที่สะพานชมสัตว์ และสัตว์ทุ่งแอฟริกา |
ผู้เขียนยังจำคำปรารภของ สมาชิก รสทป.ท่านหนึ่ง คือ นายเคนน้อย หรือ หรือคุณบุญสวน แสนศรีธรรมมาที่ว่า "อาจารย์ครับ ผมว่าภูเขาสวนกวางของเราต้องได้รับการพัฒนาให้ เจริญแน่ๆ เพราะมื้อคืน ผมฝันว่าเจ้านายของแผ่นดินได้เสด็จมาที่นี่ ทั้งภูเขาสวนกวางมีแสงสว่างไสวไปทั่ว สวยงามมาก" ผู้เขียนมีความคิดคล้อยตาม"เคนน้อย"เพราะเริ่มมีหลายหน่วยงานเข้ามาชื่นชมและเยี่ยมชมภูเขาสวนกวางบ่อยขึ้น
มีท่านหนึ่งได้เสนอความคิดเห็นว่าอยากดูภาพบรรยากาศเก่าๆ ของ"เขาสวนกวาง" ในช่วงก่อนที่จะมาเป็นสวนสัตว์เขาสวนกวาง และช่วงการสำรวจพื้นที่ ผมรับทราบและยินดี แต่หาจังหวะรวบรวมข้อมูลและเขียนบทความนำเสนอที่เหมาะเจาะยังไม่ได้...วันนี้ คิดว่าเป็นโอกาสที่จะได้ทำงาน แต่ไม่ทราบว่าจะมีอุปสรรคอะไรหรือไม่...ตามผมมาเลยครับ
ในช่วงเวลาปี ๔๕-๕๑ พื้นที่การท่องเที่ยวจะอยู่ที่โซนใต้ เมื่อพูดถึงจัดสนใจในการไปเยี่ยมชมจะเป็นแหล่งที่มีชื่อดั้งเดิม เช่น "ถ้ำพระเดช ถ้ำเสือหยอกลูก ถ้ำป่องช้าง ถ้ำอีเจีย" ฯลฯ
ในช่วงเวลาปี ๔๕-๕๑ พื้นที่การท่องเที่ยวจะอยู่ที่โซนใต้ เมื่อพูดถึงจัดสนใจในการไปเยี่ยมชมจะเป็นแหล่งที่มีชื่อดั้งเดิม เช่น "ถ้ำพระเดช ถ้ำเสือหยอกลูก ถ้ำป่องช้าง ถ้ำอีเจีย" ฯลฯ
ถ้ำพระเดช มีลักษณะเป็นปากป่องและโพรงใต้ดิน ห่างจาก"ศูนย์บริการไปทางใต้ประมาณ ๒ กิโลเมตร" |
ครั้งหนึ่ง อาจารย์ทำนอง รังสีปัญญา ได้นำครูและนักเรียนในอำเภอเขาสวนกวางที่ตั้งอยู่รอบชายเขา ขึ้นไปศึกษาเรียนรู้ โดยแบ่งเส้นทางขึ้นไป ๕ เส้นทาง ไปบรรจบกันที่"ถ้ำพระเดช" นักเรียนได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์มากมายเลยที่เดียว
ในส่วนของการท่องเที่ยว ยังไม่ฮอทเท่าไร น้อยคนนักที่จะรู้จักสถานที่ต่อไปนี้ ถ้ำไม้ค้ำพั้น เสือหยอกลูก ถ้ำป่องเอี้ยม ถ้ำป่องช้าง ถ้ำพระเดช หินตายาย ถ้ำใต้ดิน ผาบำเพ็ญ เมืองหินในป่า เป็นต้น
ผมขออนุญาต นำเสนอภาพที่เก็บสะสมไว้เมื่อหลายปีที่แล้วมาให้ชมกัน
ถ้ำเสือหยอกลูก |
ด้านซ้ายมือเป็นส่วนหนึ่งของถ้ำเสือ"หยอกลูก"บริเวณที่เรียกว่า"ภ้ำเสือหยอกลูก"มีจุดที่น่าสนใจ คือมีหินสองก้อนประกบกับ ก้อนที่อยู่ด้านบนเว้าตรงกลาง เป็นช่องยกสูงสามารถเข้าไปนั่งหรือนอนได้ พื้นด้านล่างมีลักษณะเลียบมันและที่ดีที่สุดคือมีลมพัดผ่าน เย็นสบาย
ถ้ดไปทางด้านซ้ายของภาพจะเป็นถ้ำที่มีลักษณะกว้างพอที่จะเข้าไปกางมุ้งหลังเขื่องๆได้หนึ่งหลัง แต่จะเขเปได้ต้องมุดลงรูแล้วปีนขึ้นไปด้านบน ในห้องนี้มีแสงสว่างเพียงพอ และมีกระแสลมเย็นพัดผ่าน เพราะผนังด้านหลังมีป่องหรือช่องหน้าต่างที่ธรรมชาติตกแต่งไว้
หากเราลงมายืนอยู่พื้นล่างแล้วมองขึ้นไปที่หน้าต่างของช่อง"ป่องเอี้ยม" เราจะเห็นหน้าผาหินทรายสีน้ำตาล ตดด้วยสีชมพูเป็นทางยาวลงมาทั้งหน้าผาประมาณ ๖ เมตร ตึกเกือบ ๓ ชั้น งดงามมาก ดังนั้นชื่อตรงนี้ จะมีชื่ออีกชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านตั้งไว้ว่า"ถ้ำป่องเอี้ยม"
ห่างจากถ้ำ"เสือหยอกลูก"ไปทางทิศเหนือค่อนไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๒๐๐ เมตร เรจะพบหินสองก้อนที่งอกโผล่ขึ้นมากลางพื้นดิน ด้านล่างเว้าออกคนละข้างด้านบนยื่นมาชิดกัน สูงประมาณ ๖ เมตร ช่องที่หินสองก้อนแยกออกจากกันนั้น ช้างตัวโตๆลอดผ่านได้ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า "ถ้ำป่องช้าง"...
ถ้ดไปทางด้านซ้ายของภาพจะเป็นถ้ำที่มีลักษณะกว้างพอที่จะเข้าไปกางมุ้งหลังเขื่องๆได้หนึ่งหลัง แต่จะเขเปได้ต้องมุดลงรูแล้วปีนขึ้นไปด้านบน ในห้องนี้มีแสงสว่างเพียงพอ และมีกระแสลมเย็นพัดผ่าน เพราะผนังด้านหลังมีป่องหรือช่องหน้าต่างที่ธรรมชาติตกแต่งไว้
หากเราลงมายืนอยู่พื้นล่างแล้วมองขึ้นไปที่หน้าต่างของช่อง"ป่องเอี้ยม" เราจะเห็นหน้าผาหินทรายสีน้ำตาล ตดด้วยสีชมพูเป็นทางยาวลงมาทั้งหน้าผาประมาณ ๖ เมตร ตึกเกือบ ๓ ชั้น งดงามมาก ดังนั้นชื่อตรงนี้ จะมีชื่ออีกชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านตั้งไว้ว่า"ถ้ำป่องเอี้ยม"
จากภาพนี้จะมองเห็นป่องเอี้ยมและ หน้าผา"ลิ้นสีชมพู" |
ห่างจากถ้ำ"เสือหยอกลูก"ไปทางทิศเหนือค่อนไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๒๐๐ เมตร เรจะพบหินสองก้อนที่งอกโผล่ขึ้นมากลางพื้นดิน ด้านล่างเว้าออกคนละข้างด้านบนยื่นมาชิดกัน สูงประมาณ ๖ เมตร ช่องที่หินสองก้อนแยกออกจากกันนั้น ช้างตัวโตๆลอดผ่านได้ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า "ถ้ำป่องช้าง"...
คณะศึกษาธรรมชาติกำลังเดินผ่านช่อง ของถ้ำป่องช้าง |
รอบๆถ้ำป่องช้างมีเถาวัลย์ขนาดใหญ๋ เลื้อยโอบรอบ ดขดหินและทิ้งตัวลงมาเป็นม่านชิงช้าอยู่หน้าโพรง คนเดินไปมายากที่จะอดนั่งโยกเล่น |
ต่อมาเมื่อคณะ"รสทป" โดยคุณสนอง อินะรังสี หัวหน้าสถานีวิทยุ"ท้องถิ่นไทย"ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คลื่น FM 9175 Mz อ.เขาสวนกวาง ได้นำเสนอโครงการ"อนุรักษ์พัฒนาและฟื้นฟูภูเขาสวนกวาง"ต่อประธาน รสทป.เขาสวนกวาง และหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ส่งผลให้มีการประชุมร่วมเพื่อรับฟังความคิดเห็นที่หลังแป ความคิดในการเปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการพัฒนาแหล่งน้ำตลอดจนการตั้งศูนย์อำนวยการดับไฟป่าขึ้น ทำให้การสำรวจข้อมูลเป็นไปอย่างจริงจัง และมีผู้ใหญ่จากกรมป่าไม้ลงมาดูแลอย่างใกล้ชิด ภาพภูเขาสวนกวางเริ่มเปิดให้สาธารณชนได้รับรู้มากขึ้น...ภาพที่ท่านจะพบต่อไปนี้เป็นภาพที่แสดงถึงความ"สด"ของหลังแป มีไม่กี่คนหรอกที่เข้าไปถึง...นอกจากคนเลี้ยงปศุสัตว์ คนเกี่ยวหญ้าคา และคนหาของป่า...ช่วงนั้นผมแอบขึ้นไป พอตะวันเริ่มมืดก็ต้องรีบกลับลงมาเพราะค่อนข้างเปลี่ยว...
ข้อตกลงวันนั้น สรุปได้ว่า ให้มีการสำเร็จข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว พร้อมกำหนดเส้นทางท่องเที่ยว ให้มีสัญลักษณ์ ป้ายบอกระยะทางเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำ มีหอดูไฟ มี ส่วนบริการนักท่องเที่ยว เช่นหอประชุม บ้านพักเจ้าหน้าที่ ลานกิจกรรม ระบบน้ำใต้ดิน เป็นต้น แต่มีหลายท่านได้เสนอว่าในอนาคต ควรมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ กั้นระหว่างซอกเขา สองลูก จะทำให้เกิดความชุ่มชื้น อาหาร นันทนาการ เกิดขึ้นแบบครบวงจร
ส่วนว่า หากดำเนินการจริงๆแล้วจะกระทบระบบนิเวสอื่นมากน้อยเพียงใด ก็ต้องมีการศึกษาผลกระทบ ศึกษาความคิดเห็นและมีการเปิดประชาพิจารณ์อีกส่วนหนึ่งด้วย
ผมเคยเขียนบทความลง เว็บ"คนหลังแป" เรื่องผลกระทบหรืออานิสงส์การสร้าง"อ่างเก็บน้ำเขาสวนกวาง" ซึ่งพื้นที่ด้านล่างอ่างเก็บน้ำ ก็เกิดแอ่งน้ำใหม่ และพื้นที่ชุ่มน้ำขึ้นหลายแห่ง กลายเป็นที่ชุมนุมของสัตว์ที่เคยหายไป และสัตว์ใหม่อีกหลายชนิด ต้นไม้ก็พลอยได้รับอานิสงค์ไปด้วย นั่นคือสิ่งที่เห็น ๆ
สจ.สมศักดิ์ กับผู้บริหารโรงเรียนและท่านปลัดอำเภอ |
ในภาพเราได้เชิญ ชาวต่างประเทศมาร่วมประชุมด้วย ซึ่งชาวต่างประเทศท่านนี้ ทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และมีการติดต่อกับสำนักงานท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นประจำ..."Amazing & buetifull"
เชิญแสดงความคิดเห็น
ตอบลบอยากให้นำภาพภูเขาสวนกวางเดิมๆมาให้ชม
ตอบลบ