ผม ได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง เขียนเป็นภาษาลาว ชื่อ "ปะหวัดสาดลาว โดยหย้อ"ที่เขียนโดย" ท่านคำเพา พอนแก้ว" จากเพื่อนเฟสท่านหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยมิตรภาพ เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ที่แล้ว แม้จะเขียนเป็นภาษาลาวและใช้อักษรลาว ผมใช้ความพยายามในการอ่านก็พอจะเข้าใจและเดาความได้พอประมาณ หนังสือเล่มนั้น ทำให้ผมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของ ชนชาติลาว ตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และได้เข้าใจในทัศนะความคิดความเห็นของผู้เขียนซึ่งอาจเหมือนกับคนลาวเป็นส่วนใหญ่
เน้ือหาหนึ่งในหนังสือเล่มนั้น ที่ผมอยากนำเสนอก็คือเรื่อง "ค่าของเงินและหน่วยนับเงิน ที่ใช้ซื้อขาย และมาตราการวัดชนิดต่างๆ ในแขวงคำม่วน สปป.ลาว ในปี 1890" ซึ่งท่านผู้เขียนบอกว่า ได้แปลมาจากบทความที่ฝรั่งเศส เขียนได้ ผมเห็นว่าเป็นสาระและมีประโยชน์และคุณค่าการรับรู้และศึกษาเรียนรู้ จึงขอนำเสนอไว้เป็นบทความหนึ่งใน AEC : บ้านใกล้เรือนเคียง โดยการปริวรรตอักษรลาวให้เป็นอักษรไทยเท่าที่สองระบบจะเอื้ออำนวยต่อกัน และจะเก็บความสำคัญเป็นภาษาไทย เพื่อจะได้เรียนรู้เทียบเคียงกัน
๑. การถอดความ
เน้ือหาหนึ่งในหนังสือเล่มนั้น ที่ผมอยากนำเสนอก็คือเรื่อง "ค่าของเงินและหน่วยนับเงิน ที่ใช้ซื้อขาย และมาตราการวัดชนิดต่างๆ ในแขวงคำม่วน สปป.ลาว ในปี 1890" ซึ่งท่านผู้เขียนบอกว่า ได้แปลมาจากบทความที่ฝรั่งเศส เขียนได้ ผมเห็นว่าเป็นสาระและมีประโยชน์และคุณค่าการรับรู้และศึกษาเรียนรู้ จึงขอนำเสนอไว้เป็นบทความหนึ่งใน AEC : บ้านใกล้เรือนเคียง โดยการปริวรรตอักษรลาวให้เป็นอักษรไทยเท่าที่สองระบบจะเอื้ออำนวยต่อกัน และจะเก็บความสำคัญเป็นภาษาไทย เพื่อจะได้เรียนรู้เทียบเคียงกัน
๑. การถอดความ
ค่าเงินที่ใช้ซื้อขายและมาตราการวัดแบบต่าง ๆ
ในแขวงคำม่วน ปี 1890
(แปลจากบทความที่ฝรั่งเศส ได้เขียนไว้)
เงินที่ใช้ : ก่อนที่ฝรั่งเศสจะมาถึงประเทศลาว เงินที่นำมาใช้ มีดังนี้
- เงินที่มีเนื้อธาตุเป็นเงินแท้ คือ เงิน "ฝัก" หรือ เงิน "ฮาง"มีลักษณะเป็นท่อน ๆ ที่ชาวเวียตนาม(อานาม)และชาวจีนเป็นผู้นำในการใช้ ที่เรียกว่า "ฝัก" อาจมีรูปเหมือนฝักมะขาม ที่เรียกว่า "ฮาง" อาจเป็นรูปเป็นร่องเหมือน"ฮางหมู"(ทีสำหรับวางอาหารให้หมู ทำจากไม้ที่นำมาขุดเป็นร่องลึกยาวกว้างพอที่หมูจะหย่อนปากลงไปกินอาหารได้)
น้ำหนักของเงิน ฝักหนึ่งประมาณ ๓๗๕ กรัม ราคาแลกเปลี่ยนกับเงินตราอินโดจีน เป็น ๑๖ เหรียญ หรือ (16 plastres) มีมูลค่าเท่ากับราคากระบือตัวผู้หนุ่ม ๑ ตัว ต่อ ๔ เหรียญ แต่ก็ปรากฏว่ามีเงินปลอม(มีเน้ือธาตุเงินแท้ผสมอยู่ไม่ถึง ร้อยละ ๑๐๐)ระบาดอยู่ในตลาดเช่นกัน
- เงินบาท(มีลักษณะกลม) คือเป็นเหรียญกลม ๆ ชาวลาวเรียกว่าเงินบาท เงิน "หมากค้อ"เพราะมีรูปเหมือนเม็ดของลูกตะค้อ
ซึ่งเป็นเงินของประเทศสยาม มีน้ำหนักประมาณ ๑๕ กรัม เทียบกับค่าเงินกเงินอินโดจีน ประมาณ ๖๐ ถึง ๖๒ อัฐ (๑ อัฐ เท่ากับ ๑/๑๐๐ ของ ๑ เหรียญ) ซึ่งเป็นเงิน"หัวหนาม"ของฝรั่งเศส มีรูปคนสวมมงกุฏเป็นแฉก ๆไว้บนศีรษะ เงินบาทนั้นมีการปลอมขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังนิยมใช้กันกันอยู่
อ้างอิงจาก : http://www.baanmaha.com/community/threads/43816-เงินรางสมัยก่อน |
อ้างอิงจาก http://pantip.com/topic/30169819 |
- เงินบาทแบนๆ(ธรรมดา)(tical plate) มีพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ซึ่งมีค่า ๖๐ เซนต์ (Cents) เป็นเงินที่ผู้ใช้ให้ความเชื่อถือ เพราะใช้เน้ือธาตุเงินบริสุทธิ์มาหล่อเป็นเหรียญ
- เงินที่มีเน้ือธาตุทองแดงผสม มีอยู่ ๒ ชนิด มีชนิดเหรียญละ ๑ อัฐ และ ๒ อัฐ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"เงินลาด"มีพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดินสยาม มูลค่า ๑ หรือ 2 เซนต์ (Cents) แพร่มาจากแขวงทางเหนือของประเทศลาว
- ในปัจจุบัน (1890) ซึ่งระบบเงินตราต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังนำมาใช้คู่กันเงินเหรียญเม็กซิกัน(Piastre Mexicaine) (ด้วยว่าใช้ตามโปรตุเกส ) และเงินเหรียญของอินโดจีน รวมทั้งหน่วยของเงินต่าง ๆดังกล่าวมาแล้ว
อยู่บางพื้นที่ของเมืองคำเกิด เมืองคำม่วน มหาไซ ใกล้กับชายแดนเวียตนามกลาง(อานาม) ก็ยังใช้หน่วยเงินอัฐ "หมากอิแป๊ก"ซึ่งผลิตจากเวียตนามกลาง(อานาม) และเป็นเงินที่ไม่มีค่าสูงนัก
- วิธีนับเงิน : ชาวลาวอ้างอิงกับหน่วยเงินบาทของสยามเป็นหลัก ๑ บาท (Un tical) หลายบาท(Ticaux) ถ้ามีจำนวนมากก็นับเป็นตำลึง ( ๔ บาท ต่อ ๑ ตำลึง) ดังคำกล่าวที่ว่า "๑๐ ตำลึงอยู่ฟากน้ำอย่าได้อ่าวคะนิงหา ๒ สลึงแล่นมามือให้ฟ้าวกำเอาไว้" เป็นคำสุภาษิตของลาวที่ใช้พูดกันอยู่ เพื่อให้เกิดการประหยัด ไม่ทะเยอทะยาน
๒๐ ตำลึง เท่ากับ ๑ ชั่ง(1 Cattie) หรือเท่ากับ ๘๐ บาท หรือ ๘๐ ticaux ๑๐ ชั่งเป็น ๑ หมื่น ๑๐ หมื่น เท่ากับ ๑ หาบ ๑๐ หาบ เท่ากับ ๑ แสน ๑๐ แสน เท่ากับ ๑ ล้าน ๑๐ ล้าน เท่ากับ ๑ โกฏิ
หน่วยนับเงิน ที่ต่ำกว่า ๑ บาท ที่นำมาใช้ ได้แก่ ๑ สลึง เท่ากับ ๑/๔ ของบาท ๑ เฟื้อง เท่ากับ ๑/๒ ของสลึง หรือ ๑/๘ ของบาท อัฐ หรือ ลาด เท่ากับ ๑/๘ ของเฟื้อง หรือ ๑/๖๔ ของบาท(tical)
มาตราการชั่งน้ำหนัก : หรือหน่วยนับน้ำหนัก ที่นำมาใช้ในแขวงคำม่วน คือ ๑ ชั่ง(Le xang ou cattie) เท่ากับ ๑๒๐ กรัม(๑ กิโลกรัม ๒ ขีด) หรือ ๑ ทะนาน ๑ หมื่น (Le mun ou 10 xang) เท่ากับ ๑๒ กิโลกรัม ๑ หาบ(Le hap ou 10 muns) เท่ากับ ๑๒๐ กิโลกรัม
(เครื่องมือตวงวัดเหล่านี้ นำมาใช้เพื่อซ้ือขาย ยาฝิ่น ให้พวกยุโรป แต่ประชาชน ไม่ค่อยรับรู้เพราะไม่เคยชิน ส่วนใหญ่จึงแลกเปลี่ยนกันเป็นสิ่งของ)
- ในปัจจุบัน (1890) ซึ่งระบบเงินตราต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังนำมาใช้คู่กันเงินเหรียญเม็กซิกัน(Piastre Mexicaine) (ด้วยว่าใช้ตามโปรตุเกส ) และเงินเหรียญของอินโดจีน รวมทั้งหน่วยของเงินต่าง ๆดังกล่าวมาแล้ว
อยู่บางพื้นที่ของเมืองคำเกิด เมืองคำม่วน มหาไซ ใกล้กับชายแดนเวียตนามกลาง(อานาม) ก็ยังใช้หน่วยเงินอัฐ "หมากอิแป๊ก"ซึ่งผลิตจากเวียตนามกลาง(อานาม) และเป็นเงินที่ไม่มีค่าสูงนัก
- วิธีนับเงิน : ชาวลาวอ้างอิงกับหน่วยเงินบาทของสยามเป็นหลัก ๑ บาท (Un tical) หลายบาท(Ticaux) ถ้ามีจำนวนมากก็นับเป็นตำลึง ( ๔ บาท ต่อ ๑ ตำลึง) ดังคำกล่าวที่ว่า "๑๐ ตำลึงอยู่ฟากน้ำอย่าได้อ่าวคะนิงหา ๒ สลึงแล่นมามือให้ฟ้าวกำเอาไว้" เป็นคำสุภาษิตของลาวที่ใช้พูดกันอยู่ เพื่อให้เกิดการประหยัด ไม่ทะเยอทะยาน
๒๐ ตำลึง เท่ากับ ๑ ชั่ง(1 Cattie) หรือเท่ากับ ๘๐ บาท หรือ ๘๐ ticaux ๑๐ ชั่งเป็น ๑ หมื่น ๑๐ หมื่น เท่ากับ ๑ หาบ ๑๐ หาบ เท่ากับ ๑ แสน ๑๐ แสน เท่ากับ ๑ ล้าน ๑๐ ล้าน เท่ากับ ๑ โกฏิ
หน่วยนับเงิน ที่ต่ำกว่า ๑ บาท ที่นำมาใช้ ได้แก่ ๑ สลึง เท่ากับ ๑/๔ ของบาท ๑ เฟื้อง เท่ากับ ๑/๒ ของสลึง หรือ ๑/๘ ของบาท อัฐ หรือ ลาด เท่ากับ ๑/๘ ของเฟื้อง หรือ ๑/๖๔ ของบาท(tical)
มาตราการชั่งน้ำหนัก : หรือหน่วยนับน้ำหนัก ที่นำมาใช้ในแขวงคำม่วน คือ ๑ ชั่ง(Le xang ou cattie) เท่ากับ ๑๒๐ กรัม(๑ กิโลกรัม ๒ ขีด) หรือ ๑ ทะนาน ๑ หมื่น (Le mun ou 10 xang) เท่ากับ ๑๒ กิโลกรัม ๑ หาบ(Le hap ou 10 muns) เท่ากับ ๑๒๐ กิโลกรัม
(เครื่องมือตวงวัดเหล่านี้ นำมาใช้เพื่อซ้ือขาย ยาฝิ่น ให้พวกยุโรป แต่ประชาชน ไม่ค่อยรับรู้เพราะไม่เคยชิน ส่วนใหญ่จึงแลกเปลี่ยนกันเป็นสิ่งของ)
สำเนาหน้าหนังสือ(บางส่วน) ที่นำมาแปล ขออภัยเจ้าของหนังสือที่ข้าพเจ้าได้แปลโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต และจะรับผืดชอบทั้งหมดหากเกิดความเสียหายใด ๆ |
๒. การปริวรรต อักษรลาวมาเป็นอักษรไทย
คุนค่าเงินใซ้ซื้อขาย และ มาดกานวัดแทกต่างๆ
ในแขวงคำม่วน ปี 1890
(แปจากบดของฝรั่งเขียนไว้)
(แปจากบดของฝรั่งเขียนไว้)
เงินใซ้ : ก่อนพวกเฮา(ฝรั่งเสด) จะมาเถิงปะเทดนี้ เงินที่นำมาใซ้ มี ดั่งนี้ :
- เงินที่มีทาดเงินแท้ : เงิน "ฝัก" หลือ เงิน "ฮาง" เป็นท่อนๆของชาวอานามและซาวจีนพาใซ้ (คำว่า "ฝัก" อาดเป็นฮูบคือ หมากขามฝักหนึ่ง "ฮาง" ก็อาดเป็นฮูบคือฮางหมู) น้ำหนักฝักหนึ่ง 375 gr ลาคาเปี่ยนใส่เงินอินดูจีน ต่อมาแม่น 16 เหลียน หลือ (16 plastres) เปี่ยนใส่ลาคาควายเถิก ๑ ตัว ต่อ ๔ เหลียน แต่ก็มีเงินที่บ่ แม่นทาดเงินบํลิสุด 100 % ปอมแปงหลายใซ้กันอยู่
- เงินบาด(กม)(tical) เป็นหน่วยมนๆ ซาวลาวเอิ้นว่าเงินบาด "หมากค้อ" (ย้อนเบิ่งฮูบคือหมากค้อ) เป็นเงินของซาวสะหยาม มีน้ำหนัก 15 gr และมีลาคาเป็นเงินอินดูจีนปะมาน 60 หา 62 อัด ( 1 อัด เท่ากับ 1/100 ของ 1 เหลียน ซึ่งแม่นเงินเหลียน "หัวหนาม"ของฝรั่งมีฮูบคนใส่ "ปอกหนาม" อยู่หัว มีเงินบาดเหล่านี้ถืกปอมแปงหลาย แต่ก็ยังใซ้กันอยู่
- เงินบาดแป(ทำมะดา) (tical plate) มีฮูบเจ้าซีวิตสะหยาม ซึ่งมีคุนค่า 60 เซน (Cents) เป็นเงินที่เซื่อถือได้ เว้าในนามทาดเงินสดปะกอบ(หลอมปน)
- เงินที่มีทาดทองแดง ; มี สองปะเพด มีหมาก 1 อัด (หลุย) และ หมาก 2 อัด หลือมีอีกซื่อหนึ่งว่าเงินลาด(Lats)มีฮูบเจ้าซีวิตสะหยาม ลาคา 1 หลือ 2 เซน (Cents)มาจากแขวงพากเหนือของลาว
ในปัดจุบัน (1890) ซึ่งเงินต่างๆที่ก่าวข้างเทิงนี้ ยังนำมาใซ้ได้พ้อมๆกันกับเงินเหลียน เม็กซิก (Piastre Mexicaine) (ย้อนปอตุเกด พาใซ้) เงินเหลียนอินดูจีน ทั้งหัวหน่วยของเงินต่างๆดังก่าว
อยู่บางพื้นที่ของเมืองคำเกิด เมืองคำม่วน มหาไซ ใก้กับซายแดนอานาม เพิ่นก็ยังใซ้หัวหน่วยเงินอัด (Sapeque) "หมากอิแป๊ก"เฮ้ดมาจากอานาม เป็นเงินทีบ่มีคุณค่าสูง
- วิทีนับเงิน : ซาวลาวอิงใส่หัวหน่วยเงินบาดสะหยามเป็นหลัก 1 บาด (Un tical) หลายบาด (Ticaux) ถ้าแม่นจำนวนหลายก็เป็นตำลึง (หมายความว่า 4 บาท ต่อ 1 ตำลึง) "10 ตำลึง อยู่ฟากน้ำอย่าได้อ่าวคะนิงหา 2 สลึงแล่นมามือให้ฮีบกำเอาไว้" คำสุพาสิดลาวเคยเว้ากัน เพื่อให้ปะหยัด บ่ทะเยอทะยาน)
20 ตำลึง เท่ากับ 1 ซั่ง หลือ(1 Cattie) เท่ากับ 80 บาด หลือ 80 ticaux 10 ซั่ง เป็น 1 หมื่น 10 หมื่น = 1 หาบ ,10 หาบ = 1 แสน, 10 แสน = 1 ล้าน , 10 ล้าน = 1 โกด
หัวหน่วยต่ำกว่า 1 บาด ที่นำมาใซ้ มี :
1 สะลึง = 1/4 ของบาด (1 สะหลึงเท่ากับ 1/4 ของบาด) 1 เฟื้อง = 1/2 สะหลึง หลือ 1/8 ของบาด อัด หรือ ลาด ที่เท่ากับ 1/8 ของเฟื้อง หลือ 1/64 ของ บาด (tical)
มาดตาน้ำหนัก(กานซั่งน้ำหนัก) หัวหน่วยน้ำหนักที่นำมาใซ้ในแขวงคำม่วน มี :
1 ซั่ง (Le xang ou cattie) เท่ากับ 1 kg 200 (หลือ 1 นาน)
1 หมื่น (Le mun ou 10 xang) เท่ากับ 12 kg
1 หาบ (Le hap ou 10 muns) เท่ากับ 120 kg
(เคื่องวัดแทกนี้นำมาใซ้เลานั้นเพื่อ ซื้อ ขาย ยาฝิ่น ให้พวกตาเว็นตก ส่วนปะซาซนแม่นบ่หยากฮับฮู้ เพาะบ่ทันลึ้ง ส่วนใหย่แม่นแลกเป็นวัตถุ)
1 ซั่ง (Le xang ou cattie) เท่ากับ 1 kg 200 (หลือ 1 นาน)
1 หมื่น (Le mun ou 10 xang) เท่ากับ 12 kg
1 หาบ (Le hap ou 10 muns) เท่ากับ 120 kg
(เคื่องวัดแทกนี้นำมาใซ้เลานั้นเพื่อ ซื้อ ขาย ยาฝิ่น ให้พวกตาเว็นตก ส่วนปะซาซนแม่นบ่หยากฮับฮู้ เพาะบ่ทันลึ้ง ส่วนใหย่แม่นแลกเป็นวัตถุ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น