14.8.58

ประวัติ "​พระบาง" : พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประจำอาณาจักรล้านช้าง ที่มีอายุยาวนาน

            ปัจจุบัน หลายคนที่ไผเยี่ยมชม "นะคอนหลวงพะบาง" เมืองมรดกโลก แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว สถานที่แห่งหนึ่งที่ต้องไปชมและถ่ายภาพให้ได้ก็คือ "หอพระบาง" หน้าพิพิธภัณฑ์หรือพระราชวังเดิม
ภาพจาก http://daejeonastronomy.exteen.com/20100706/entry
ซึ่งสร้างขึ้นอย่างสวยงามวิจิตรตระการตา ด้วยศิลปะแบบล้านช้างโบราณซึ่งเป็นต้นแบบของศิลป์แบบต่างๆในระยะต่อมา
            ที่หอพระบางแห่งนั้น เป็นที่ประดิษฐาน องค์พระบาง
           ประวัติพระบาง
           พระบางมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ตำนานเกี่ยวกับพระบางว่าอย่างไร และความเคารพ ความเชื่อของชนชาติลาวสองฝั่งแม่น้ำของ(โขง)ที่มีต่อพระบางเป็นอย่างไร ผมได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้สองสามแหล่ง คือ หนังสือ"ปะหวัดสาดลาว โดยหย้อ (ฉบับภาษาลาว)" ที่อ้างอิงมาจากเอการบันทึกการศึกษาค้นคว้าของ "จันทะพอน วันนะจิด และ มหาสีลา วีระวงศ์ และข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์ วิกิพีเดีย และโฟโตออนทัวร์  จึงขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้
           ประวัติโดยย่อของพระบาง
           เอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่า พระบาง นั้มีชื่อจริง ๆคือ พระปางห้มญาติ ต่อมาเรียกชื่อย่อ ว่าพระปาง และกลายมาเป็น "พระบาง" ในที่สุด          
          พระบาง เป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัย สูงสองศอกเจ็ดนิ้ว (ประมาณ ๑.๑๔  เมตร) หล่อด้วยสำริด (ทองคำผสม ๙๐ เปอร์เซ็นต์) มีอายุอยู่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘  ถึงตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ ๑๙  ตามศิลปะเขมรแบบบายนตอนปลาย โดยมีพุทธลักษณะคือ
ภาพจากหนังสือ ปะหวัดลาว โดยหย้อ
ประทับยืนยกพระหัตถ์ขึ้น นิ้วพระหัตถ์เรียบเสมอกัน พระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง พระขนงเป็นรูปปีกกา พระเนตรเรียว พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์บาง พระเศียร และพระเกตุมาลาเกลี้ยงสำหรับสวมเครื่องทรง ปั้นพระองค์เล็ก พระโสภีใหญ่ ครองจีวรห่มคลุม แลเห็นแถบสบง และหน้านาง(วิกิพีเดีย) 
พระบางเป็นพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง (จาก เว็บไซต์ วิกีพีเดีย)
เว็บไซต์ วิกิพีเดีย ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ว่า พระบางเดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่นครหลวงของอาณาจักรขอม จนเมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๐  พระเจ้าฟ้างุ้มกษัตริย์แห่งล้านช้างซึ่งมีความเกี่ยวพันทางเครือญาติกับพระเจ้ากรุงเขมร มีพระราชประสงค์ที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ประดิษฐานมั่นคงในพระราชอาณาจักร จึงได้ทูลขอพระบางเพื่อมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวงของอาณาจักรล้านช้างในขณะนั้น แต่เมื่ออัญเชิญพระบางมาได้ถึงเมืองเวียงคำ (บริเวณแถบเมืองเวียงจันทน์ในปัจจุบัน) ก็มีเหตุอัศจรรย์ขึ้นจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ พระบางจึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองนี้จนถึง พ.ศ. ๒๐๕๕ อันเป็นสมัยของพระเจ้าวิชุณราช ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าเมืองเวียงคำมาก่อน จึงสามารถนำเอาพระบางขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดวิชุนราชในนครเชียงทอง ทำให้เมืองเชียงทองเรียกว่า หลวงพระบาง นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ตำนานพระบาง
เอกสารฝ่ายลาว กล่าวถึงพระบางในเชิงตำนาน และช่วงเวลาการก่อกำเนิดและการเคลื่อนย้ายพระบางไว้ ดังนี้
เมื่อ พ.ศ. ๔๓๖ พระจูลนาถเถระ ได้หล่อพระบางที่ประเทศศรีลังกา ได้มีพิธีอารธนาพระบรมสารีริกธาตุ ๕ พระองค์มาบรรจุไว้ในองค์พระบาง และพระบางประดิษฐานอยู่ที่ลังกา นานถึง ๙๖๓ ปี
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๑๔๐๐ พระเจ้าสุบินราช ได้มอบพระบางให้แก่กษัตริย์เขมรให้นำมาประดิษฐานไว้ที่นครอินทปัทม์ และประดิษฐานอยู่ที่นครอินทปัทม์ นานถึง ๕๐๒ ปี
ภาพจากเว็บไซต์ http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000124781
พ.ศ. ๑๙๒๐ พระเจ้าชัยวรมันปรเมศวร ที่ชาวลาวเรียกพระนามว่า พระยาสิริจุนทราช ได้มอบพระบางเป็นของกำนัลให้แก่ "พระเจ้าฟ้างุ้ม" ซึ่งเป็นราชบุตรเขย เพื่อนำมาเป็นเครื่องนำทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านช้าง และได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำ ๑๔๓ ปี
ต่อมาเมื่อถึง พ.ศ. ๒๐๔๕ ได้มีการอัฐเชิญพระบาง ไปประดิษฐาน อยู่วัดมโนรมย์ ๒ ปี แล้วย้ายมาประดิษฐานที่วัดวิชุน มหาวิหาร เมืองเชียงทอง นานถึง ๒๐๒ ปี (และมีผลให้เมืองเชียงทองเปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองหลวงพระบาง") จึงได้ย้ายมาประดิษฐานไว้ที่นครหลวงเวียงจันทน์
ใน พ.ศ. ๒๒๔๘ พระบาง ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินแปง ชื่อเดิม คือ"วัดป่าสักหลวง" ภายใต้พระมาหากรุณาของพระเจ้าโพธิสราช ซึ่งเป็นพระบิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช และประดิษฐษนอยู่ที่เวียงจันทน์นานถึง ๗๔ ปี จึงถูกเคลื่อนย้ายลงไปที่กรุงเทพฯด้วยภาวะสงครามที่รุนแรง
เอกสารฝ่ายลาว กล่าวเพิ่มเติมว่า
พ.ศ.๒๓๒๒  ศักดินาสยาม ได้ยกทัพาตีนครเวียงจันทน์ แล้วนำเอาพระบาง และพระแก้วมรกต และพระแทรกคำไปไว้ที่ กรุงเทพฯ
พ.ศ.๒๓๒๖  ได้ส่งพระบางคืนให้ลาว และประดิษฐานอยู่ที่นครเวียงจันทร์ ๔๕ ปี จึงถูกเคลื่อนย้ายไปกรุงเทพฯอีกครั้ง เมื่อสยามกลับมาตีเวียงจันทน์อีกครั้ง
พ.ศ. ๒๓๗๑ ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า ใน พ.ศ. นี้ ศักดินาสยาม ได้เข้ามาทำลายและเผานครเวียงจันทน์อีก แล้วนำเอาพระบาง  และพระพุทธรูปสำคัญ ได้แก่ พระแทรกคำ พระเสา พระเสิม พระใส ฯลฯ เป็นเวลานานถึง ๖๕ ปี ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าอนุวงศ์ถูกสยามจับตัวไป ถึง ปีที่ ฝรั่งเศส เข้ามายึดลาวเป็นอาณานิคม
พ.ศ. ๒๔๐๙ สยามได้ส่งพระบาง คืนให้แก่ลาวเป็นครั้งที่สอง และลาวได้อัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ที่วัดวิชุน มหาวิหาร เมืองหลวงพระบางเป็นเวลา ๒๐ ปี แล้วย้ายไปวัดใหม่สุวรรณภูมิ และ หอคำ ราชวังหลวงในระยะต่อมา
พระบางเป็นพระพุทธรูป ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นของค้ำคูนบ้านคูณเมือง ลาวถือว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าสิ่งหนึ่งของประเทศ มานาน จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๗) พระบางมีอายุได้ ๒๑๑๖ ปี













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น